ไขมันทรานส์คืออะไร? ทำความเข้าใจหลังไทยห้ามผลิตนำเข้าจำหน่าย

821 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ คืออะไร? มาทำความเข้าใจหลังไทยห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายแล้ว

 
กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้กฏหมายห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมให้โดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมให้โดรเจนบางส่วน เป็นส่วนประกอบอาหารที่ห้ามผลิต ห้ามนำเข้าหรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มกราคม 2562 โดยมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพคนไทย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้รับทราบและเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันชนิดดังกล่าวได้ทำการเรียกคืนสินค้าที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ทั้งหมดแล้ว หากพบการกระทำฝ่าฝืน มีโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ 5000 บาทถึง 20,000 บาท


ไขมันทรานส์คืออะไร?

ก่อนที่จะมีกฎหมายบังคับกรดไขมันทรานส์มักพบได้ในอาหารและขนม เช่นเบเกอรี่หรือโดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม หรือมาการีนเป็นส่วนผสม และเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มระดับไขมันเลว(LDL) และลดไขมันดี (HDL) ในเส้นเลือดซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานอีกด้วย กรดไขมันทรานส์ถูก คิดค้นขึ้นเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของน้ำมันพืช เพื่อทำให้น้ำมันพืชสามารถคงสภาพแข็งตัวหรือกึ่ง แข็งกึ่งเหลว และมีอายุเก็บไว้ได้นานกว่าเดิม ถึงแม้จะช่วยในอุตสาหกรรมอาหารในการลดต้นทุนการผลิตและเคยถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าไขมันธรรมชาติ แต่จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยืนยันแล้วว่ามันเป็นภัยต่อสุขภาพ

 

แผนกำจัด ไขมันทรานส์ให้หมดไปของ (WHO: World Health Organization) องค์การอนามัยโลก

เมื่อเดือน พฤษภาคม 2562 องค์การอนามัยโลก ประกาศแผนเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกห้ามการใช้ไขมันทรานส์ จากผลการวิจัยซึ่งพบว่า ผลเสียจากไขมันทรานส์มีให้เห็นในหลายประเทศแถบเอเชียใต้ ที่ร้านอาหารนิยมใช้น้ำมันเลยใสซึ่งทำจากน้ำมันปาล์ม ส่งผลทำให้อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในหมู่ประชากรเอเชียใต้นั้นสูงผิดปกติ จากการวิจัยพบว่าผู้ชายในปากีสถานมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายมากกว่าชาวอังกฤษและเวลส์ถึง 62% นอกจากนี้นักวิจัยยังระบุว่าการนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาอุ่นใช้ซ้ำเป็นการเพิ่มอันตรายต่อร่างกายด้วย เป็นความเชื่อมโยงต่ออัตราการเสียชีวิตก่อนวัยแล้วหลายล้านราย องค์การอนามัยโลกเชื่อว่าหากสามารถกำจัดไขมันทานให้หมดไปจากอุตสาหกรรมอาหารโลกด้านภายในปี 2023 จะช่วยรักษาชีวิตของประชากรโลกได้กว่า 10 ล้านคน

 

ประเทศใดแบรนด์ไขมันทรานส์ แล้วบ้าง

เดนมาร์กเป็นประเทศบุกเบิกที่ห้ามการใช้ไขมันทรานส์อย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ทำให้มีอีกหลายชาติเดินรอยตาม “ปัจจุบันมี 7 ประเทศในยุโรปที่แบนไขมันทรานส์โดยกฎหมายและล้วนเริ่มต้นจากเดนมาร์ก” ดร.เจา บรีดา หัวหน้าหน่วย ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลกประจำศูนย์ยุโรปกล่าว

 
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐหรือเอฟดีเอ(FDA) ได้ห้ามใช้ไขมันทรานส์ โดยให้เวลาผู้ประกอบการสามปีในการเลิกใช้ทั้งหมด ซึ่งครบกำหนดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้นับตั้งแต่ปี 2006 เอฟดีเอได้กำหนด ให้ผลิตภันฑ์อาหาร ในสหรัฐต้องติดฉลากระบุปริมาณไขมันทรานส์ซึ่งเอฟดีเอระบุว่าข้อกำหนดนี้ช่วยให้ชาวเมริกาลดการบริโภคไขมันทรานส์ ไปได้กว่า 3 ใน 4 เมื่อปี 2012 สิงคโปร์ได้ออกกฎหมายจำกัดปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารให้ไม่เกิน 2 กรัมต่อปริมาณไขมัน 100 กรัมและต้องระบุปริมาณไขมันทรานส์บนหอบรรจุภัณฑ์ของอาหารประเภทไขมัน

 
การประกาศของกระทรวงสาธารณสุขไทยครั้งนี้อาจดูเหมือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความจริงแล้วมีการเริ่มศึกษาแนวทางในการเลือกใช้ไขมันทรานส์ตั้งแต่ปี 2007 หรือมากกว่า 10 ปีมาแล้ว ตามคำกล่าวของ รศ.ดร.วันทนี เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ยังกล่าวอีกว่า ก่อนการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการหลายรายก่อนแล้ว “ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีกับประชาชน” แต่เตือนว่าไขมันทรานส์ไม่ใช่ไขมันเพียงชนิดเดียวในอาหาร “ มันยังมีไขมันอิ่มตัวที่มาจากพวกของทอดหรือพวกกรดไขมันอิ่มตัวอยู่ ซึ่งอาจเทียบได้ว่าดีกว่าใครมันทรานส์ ตรงที่ไม่ได้ ลดไขมันดีในเส้นเลือด แต่ก็จะเพิ่มทั้งไขมันที่ดีและไม่ดี ซึ่งการกินมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงเหมือนกัน”

 
ไม่มีไขมันทรานส์ไม่ได้แปลว่าไขมันต่ำ

หนึ่งในปัจจัยที่คณะทำงานขององค์การอาหารและยากำลังพิจารณาเกี่ยวกับการติดฉลาก “ ปราศจากไขมันทรานส์” หรือ “Trans fat free” ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาหารไขมันต่ำ แนวทางการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นคือ การกำหนดเกณฑ์ปริมาณไขมันอิ่มตัวสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการติดฉลากนี้ เช่นเดียวกับในหลายประเทศ นอกจากนี้ไขมันทรานส์ยังพบได้ในธรรมชาติจากเนื้อสัตว์ประเภทเขียวเอื้องแต่จะมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าไขมันทานจากการเติมให้โดเจนหลายเท่า “ กฎหมายบ้านเราอาจจะไม่ได้ให้เขียนว่าไขมันทรานส์เป็นศูนย์ เพราะถ้าเขียนเช่นนั้นประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ครอบคลุมอาจทำให้บริโภคเยอะได้ เราควรกินแต่น้อยแต่ไม่ถึงขั้นไม่ให้กินเลย” ดร.วันทนีย์ กล่าว

 

อ้างอิงจาก : BBC News

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้